วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเกษตร เรื่อง วิธีการปลูกเงาะ

การปลูกเงาะ
การปลูกเริ่มแรกนั้นจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมและควรเตรียมในช่วงฤดูร้อนเพราะสามารถทำงานได้สะดวกจากนั้นจึงเริ่มปลูกลงต้นกล้าในช่วงต้นฤดูฝน โดยการลงต้นเงาะนั้นจะต้องทราบด้วยว่าเงาะเป็นไม้ผลที่มีพุ่มเป็นทรงกว้างและจะออกดอกที่ปลายพุ่มจึงต้องปลูกต้นเงาะให้อยู่ในช่วง 8×8 เมตร ในพื้นที่การปลุก 1 ไร่และหลุมที่ปลูกเงาะนั้นควรมีความลึกอยู่ที่ประมาณ 15 เซนติเมตร และมีความกว้างอยู่ที่ 7-8 นิ้ว  เพื่อความสะดวกในการทำงานในสวนและการเก็บเกี่ยว จากนั้น วางกิ่งพันธุ์วางตรงกลางของหลุมแล้วกลบดินให้มีความสูงประมาณ 1 นิ้ว โดยการขยายพันธุ์ของเงาะนั้นจะเป็นแบบการทาบกิ่งและการติดตาเมื่อมีการนำไปลงหลุมปลูกแล้วจะต้องทำการรดน้ำตามในทันทีเพื่อทำให้ดินนั้นกระชับรากได้ดีขึ้นจากนั้นจะต้องมีการดูแลหลังจากการปลูกเป็นอย่างดีหลังจากนั้นเงาะก็จะออกผลเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปี และที่สำคัญอย่าให้เกิดอาการขาดน้ำในช่วงติดผลอ่อนโดยเด็ดขาด เมื่อถึงฤดูร้อนควรนำฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อเป็นการรักษาความชื้นในดิน แต่ในระยะใกล้ออกดอกจะต้องให้น้ำในปริมาณที่น้อยมากหรือเรียกว่าเป็นการบังคับการให้น้ำ เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนที่มาพร้อมกับการแทงช่อดอกหากมีใบอ่อนมากเกินไปก็จะทำให้ช่อดอกเจริญได้ไม่ดีจึงต้องมีการบังคับน้ำเพื่อให้ใบอ่อนร่วงลงไปและทำให้ตาดอกเจริญได้ดีต่อไป

การใส่ปุ๋ยเมื่อเงาะติดผลแล้ว เมื่อเงาะให้ผลและทำการเก็บเกี่ยวแล้วต้องรับทำการตัดกิ่งและกำจัดวัชพืชโดยเร็ว และทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละประมาณ 2-3 กิโลกรัมและปุ๋ยคอกอีก 5 กิโลกรัม โดยจะใส่บริเวณรอบๆทรงพุ่มทำเป็นหลุมและใช้จอบขุดดินใส่ปุ๋บลงไปแล้วกลบ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ต้นพร้อมที่จะออกผลในฤดูถัดไป

การเกษตร เรื่อง การปลูกถั่วฮามาต้า

การปลูกถั่วฮามาต้า
ถั่วฮามาต้าจะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ ซื่งก่อนปลูกต้องมีการเร่งความงอกของเมล็ดก่อนโดยการแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 5-10 นาที หลังจากนั้น ก็จะใช้เมล็ดที่แช่น้ำร้อนแล้วไปปลูกโดยใช้อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้หยอดเมล็ดพันธุ์เป็นแถวให้ระยะห่างกัน 30-50 เซ็นติเมตร
ในกรณีที่ปลูกถั่วฮามาต้า ในพื้นที่ดินทรายเนื้อหยาบหรือดินเหมืองแร่เก่า ควรใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินขณะเตรียมดิน และไถพรวนกลบปุ๋ยคอกก่อนปลูกถั่วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และก่อนปลูกถั่วฮามาต้า ควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 30-50 กิโลกรัม/ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น สำหรับในปีต่อๆไปควรใส่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต(0-46-0) ในอัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม และสับดินกลบในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี
ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากท่ปลูกถั่วได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ และกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากที่กำจัดวัชพืชครั้งแรกได้ประมาณ 1-2 เดือน

การใช้ประโยชน์ถั่วฮามาต้า
การตัดถั่วฮามาต้ามาให้สัตว์กินครั้งแรก ควรตัดเมื่อถั่วมีอายุ 60-75 วัน โดยให้ตัดสูงจากพื้นดิน 10-15 เซ็นติเมตร สำหรับในกรณีที่ปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม ควรปล่อยให้แทะเล็มครั้งแรกเมื่อถั่วอายุ 70-80 วัน และหลังจากนั้นจึงจะทำการตัด หรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มเป็นช่วงๆในทุกระยะ 30-45 วัน


การเกษตร เรื่อง การปลูกสัปปะรด

วิธีปลูกสับปะรด

ก่อนทำการปลูกสับปะรดควรทำการไถตากดินไว้อย่างน้อยที่สุด 7  วัน ถ้าหากไถครั้งแรกแล้วดินยังเป็นก้อนใหญ่อยู่ ให้ไถพรวนซ้ำอีกรอบ โดยเลือกจำนวนผาลไถให้เหมาะสมกับสภาพดินของท่าน(โดยทั่วไปจะใช้ผาล 3 หรือ 4 แล้วพรวนด้วยผาล 7 )

สำหรับการปลูกสับปะรดสามารถใช้หน่อหรือจุกปลูกก็ได้ ในที่นี้จะพูดถึงการปลูกด้วยหน่อ ซื่งมีข้อได้เปรียบคือให้ผลผลิตเร็วกว่า และสามารถหาพันธุ์ได้ง่ายกว่าการปลูกด้วยจุก และควรปลูกในช่วงที่ไม่มีฝนตกเพราะจะทำให้หน่อเน่าเสียหาย

เกษตรกรจะนิยมปลูกสับปะรดแถวคู่มากกว่าแถวเดี่ยว  สำหรับเรื่องระยะห่างในการปลูกสับปะรด ถ้าหากเป็นสับปะรดส่งโรงงาน ก็จะใช้ระยะห่างระหว่างต้น  30 เซ็นติเมตร ระยะห่างแถว 30 เซ็นติเมตร ระยะทางเดิน 70 เซ็นติเมตร  สำหรับสับปะรดที่ขายผลสด ก็จะใช้ระยะห่างระหว่างต้น  40 เซ็นติเมตร ระยะห่างแถว 40 เซ็นติเมตร ระยะทางเดิน 80 เซ็นติเมตร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพดิน สภาพพื้นที่ที่จะปลูกสับปะรดด้วย ระยะห่างในการปลูกไม่ได้ตายตัวเสมอไป)

ตอนเริ่มปลูกให้ขึงเชือกทำแนว ทำระยะปลูกก่อน จากนั้นให้ปลูกสับปะรดตามแนวที่วางไว้ โดยไม่จำเป็นต้องขึงเชือกทุกแถว(เว้นระยะขึงเชือกสัก 10 แถวก็ได้)

เทคนิคที่ทำให้ปลูกสับปะรดได้เร็วคือการใช้มือข้างถนัดจับเสียมที่มีด้ามสั้น แล้วเสียบลงไปในดิน >> งัดดินขึ้นมา >> แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหน่อเสียบลงไป>> ถ้าดูลักษณะหน่อไม่ค่อยมั่นคงก็สามารถใช้เท้าเหยียบให้แน่นได้
* เทคนิคเล็กๆอีกอย่างคือ ไม่จำเป็นต้องมานั่งแก้มัด หน่อที่มัดมาครับ เอาเสียมทิ่มลงที่ตอกมัดได้เลย ก็จะช่วยย่นเวลาได้อีกนิดนึง

การเกษตร เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก
ก่อนสั่งท่อซีเมนต์มานึกว่าจะเอามาเปิดน้ำเลี้ยงปลาได้เลย ที่ไหนได้ ต้องมาโปะปูนใส่ท่อระบายน้ำเอง และพอลองทดสอบเปิดน้ำใส่ ปรากฎว่าซึมรอบบ่อเลยครับ เลยต้องหาน้ำยากันซึมมาทาอีกทีนึง  หลังจากนั้นก็ทำการเปิดน้ำให้เต็ม แล้วตัดหยวกกล้วย แช่น้ำไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนครับ
ปล่อยปลาดุกลงบ่อใหม่ๆ

เมื่อถึงเวลาก็รีบไปซื้อพันธุ์ปลาดุกมาปล่อยเลย ตอนแรกจะโล่งๆเลย(ตามภาพ) ยังไม่มีออพชั่นอะไรมากมาย หลังๆมา เริ่มเอาผักตบชวามาใส่(ปลาดุกชอบมากเลยครับ ชอบไปมุดใต้กอผักตบ ถ้าหิวก็แทะเล็มกินด้วย) , เอาผักบุ้งมาใส่อันนี้ปลาดุกก็ชอบกิน , เอาท่อพีวีซีมาใส่ไว้ให้ปลาตัวเล็กหลบภัย , เอากระเบื้องมาใส่เพื่อกให้ปลาดุกหลบแดดตอนสายๆ
เลี้ยงปลาดุก
โดยผมจะถ่ายน้ำทุกๆ 5 วัน เพื่อไม่ให้บ่อเหม็นครับ ตอนนี้ผ่านไปหนึ่งเดือนปลาเริ่มโตแล้วครับ แต่บางตัวก็โตเร็ว บางตัวก็โตช้า ข้อสังเกตของผมคือปลาในบ่อที่อยู้ใกล้กับหลอดไฟกว่าจะโตเร็วกว่าครับ(ผมเลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้านแล้วเปิดไฟล่อแมลงไว้ทั้งคืน อีกนัยนึงก็เพื่อกันขโมยด้วยครับ)

ข้อสังเกต :

ตอนถ่ายน้ำปลาจะคายอาหารออกมา ดังนั้นจึงควรถ่ายน้ำก่อนให้อาหารปลา
ปลากินแมลง จะโตเร็ว
ผักบุ้ง ผักตบปลาดุกก็กินครับ
ถ้าปลาดุกไม่ค่อยกินอาหารลองเปลี่ยนอาหารดูครับ บางทีอาจเป็นที่อาหาร

การเกษตร เรื่อง การทำนาในสภาพฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง

การทำนาในสภาพฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง

1. ข้อเท็จจริง
สภาพการทำนาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเพื่อใช้ในการทำนาหว่าน และการปักดำสำหรับการใช้น้ำ ชลประทานก็เพียงเพื่อการเสริมให้มีปริมาณน้ำพอเพียงเมื่อยามที่มีปริมาณน้ำฝนไม่พอเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากมี< wbr>ฝนตกปกติตามฤดูกาลการใช้น้ำชลประทานก็ไม่มีความจำเป็น

2. ปัญหา
ตามที่ได้เกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีผลทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและสิริกิตติ์ในปี 2535 อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่สามารถระบายน้ำเสริม เพื่อการทำนาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาไ ด้เป็นปกติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานจึงได้ประกาศให้เกษตรกรซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลื่อนการทำนาปีในเดือนสิงหาคม เป็นเหตุให้เกษตรกรต้องชะลอการลงมือปลูกข้าว

3. คำแนะนำสำหรับเกษตรกร
1. เลื่อนการทำนาปีออกไปจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุก คือประมาณต้นเดือนสิงหาคม
2. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ถ้ามีปริมาณน้ำพอที่จะตกกล้าได้ แนะนำให้ทำนาดำ หรือหากมีน้ำมากพอก็ใช้วิธีหว่านน้ำตมได้เพื่อลดขั้นตอนและช่วงระยะเวลาการทำนา
3. ถ้าหากถึงกลางเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำในทุ่งยังไม่เพียงพอที่จะตกกล้า แนะนำให้ทำการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
4. กรณีที่ต้องการใช้น้ำเพื่อช่วยเหลือการทำนาปีในช่วงฝนทิ้งช่วง ก็จะให้มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำหรือคูคลองที่อยู่ใต้พื้นที่เขื่อนเก็บกักน้ำ โดยทางราชการจะสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
5. สำหรับพื้นที่ดอนที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในการทำนา ขอให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวและหันมาปลูกพืชอายุสั้น เช่น ถั่ ว และพืชผักต่าง ๆ แทน

4. วิธีการแก้ไขปัญหา
โดยสภาพทั่วไป ฝนจะตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมทุกปี หากในพื้นที่นามีน้ำมากพอเพียงก็ขอให้เกษตรกรทำการตกกล้า เพื่อจะได้ทำการปักดำหรือทำนาหว่านน้ำตม ถ้าเกิดสภาพฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานไปถึงช่วงเดือนสิงหาคม หากเกษตรก รได้ตกกล้าไว้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม อายุกล้าจะแก่และย่างปล้องแล้ว ในการปักดำให้ใช้จำนวนต้นต่อจับให้มากขึ้ น และปักดำให้ถี่เพราะกล้าเหล่านี้จะแตกกอน้อย หรือใช้วิธีการปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้ง เพื่อลดขั้นตอนในการตกกล ้าและไม่ชะงักในการเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวได้ทันฤดูกาล

การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย การปลูกโดยใช้เมล็ดแห้งที่ยังไม่ได้เพาะให้งอก ทำได้ดังนี้
1. ทำการไถดะตากดินไว้เพื่อทำลายวัชพืช จึงทำการไถแปรย่อยดินให้มีขนาดพอเหมาะ แล้วปรับดินให้เรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับ แล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวแห้ง
2. การหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้เตรียมไว้หว่านไร่ละ 15 กก. แล้วคราดกลบ
3. เมล็ดพันธุ์ข้าว ควรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสงปลูก หากใช้ข้าวไวแสงเวลาจะไม่ทัน ได้ผลผลิตต่ำ
4. การใส่ปุ๋ย ข้าวที่ปลูกในช่วงฝนแล้ง เป็นการปลูกข้าวล่าช้ากว่าฤดูกาลมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยช่วยเร ่งให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่ จึงจะทำให้ได้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการทำนาดำตามฤดูกาลปกติ
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
ในพื้นที่ดินเหนียวให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 18-22-0 หรือ 20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งในอัตราไร่ละ 25 กก. ในดินทรายให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตราไร่ ละ 25 กก. โดยใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6 วัน
การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 40-45 วัน โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมฮมเนียมคลอไรด์ ไร่ละ 25-30 กก. หรือปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 10-15 กก. ในการใส่ปุ๋ยควรจะคำนึงถึงว่าดินจะต้องเปียกแฉะหรือมีน้ำขังไม่ควรเกิน 20 เซ็นติเมตร ถ้าหากดินแห้งหรือระดับน้ำมาก กว่านี้ ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปมิฉะนั้นจะทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการสูญเสียปุ๋ย ทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ย ไม่พอเพียง ผลผลิตจะต่ำ

5. การดูแลรักษา
5.1 ควรปรับปรุงคันนาให้ดี อุดรูรั่วของน้ำ
5.2 หมั่นตรวจดูนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบศัตรูข้าวให้รีบกำจัด
5.3 ถ้าหากพบว่าข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ควรถอนต้นข้าวที่แตกกอไปซ่อมแซม 

การเกษตร เรื่อง การเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ

การเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ(ไม่ต้องให้อาหาร)
ในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับเลี้ยงกบนั้น จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละบุคคลถ้าพื้นที่น้อยก็ทำน้อย พื้นที่มากก็ทำมาก(ทำสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ) โดยเราต้องล้อมบริเวณที่เลี้ยงกบด้วยผ้ามุ้งฟ้ากันกบหนี (ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้กระเบื้องแผ่นเรียบฝังดินไว้อีกชั้นกันงู กันสัตว์เลื้อคลานเข้าไปกินกบ และภายในให้ทำการขุดบ่อเพื่อเป็นที่อยู่สำหรับกบ ถ้าสามารถขุดได้ลึกพอก็ให้ปล่อยปลานิล ปล่อยหอยขมลงไป ปลานิลจะกินแพลงตอน หอยขมจะกินขี้ปลาหรือตะไคร่น้ำ และลูกหอยขมจะเป็นอาหารกบอีกที

และที่สำคัญในบริเวณที่กั้นผ้ามุ้งที่กั้นเลี้ยงกบ ให้ปลูกพืช ผัก ดอกไม้ หลายๆชนิดผสมสานกันไป สิ่งเหล่านี้จะล่อแมลงมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เราได้ประโยชน์สองต่อคือ กบได้กินแมลงเป็นอาหาร พืชผักโตได้โดยไม่ต้องใช้สารฆ่าแมลง .. จากการสังเกตของผมกบจะขึ้นจากน้ำมาหากินแมลงในตอนกลางคืน(ถ้าต้องการจะจับกบไปบริโภคหรือขาย จับตอนกลางคืนจะง่ายกว่าครับ)

ข้อควรระวัง : คอยตรวจตราไม่ให้ผ้ามุ้งขาดเพราะจะเป็นช่องทางให้งูเลื้อยเข้ามากินกบได้ , ควรปลูกไม้ที่เป็นร่มเงา และเป็นกำบังไม่ให้นกโฉบเข้ามากินกบได้ (ถ้าเป็นไปได้ขึงตาข่ายไปเลยก็ได้ครับ กรณีที่มีนกเยอะ)


การเกษตร เรื่อง การเลี้ยงไก่แบบไม่ให้อาหาร

วิธีเลี้ยงไก่แบบธรรมชาติ(ไม่ให้อาหาร)
ไก่ป่ามันมีความสามารถในการหากินแมลง หนอน ไส้เดือน ปลวก และหญ้าเป็นอาหารได้อย่างดี ส่วนน้ำมันก็หากินตามลำธาร ห้วย บึงไก่ชนเราก็สืบเชื้อสายมาจากไก่ป่านั่นแหละครับ ความสามารถในการหากินของมันยังหลงเหลืออยู่ ดังนั้นถ้าเราสร้างสภาพแวดล้อมให้เลียนแบบธรรมชาติได้เราก็ไม่จำเป็นต้องให้อาหารมันเลยครับ (แนะนำให้ ให้เศษอาหารมันบ้างเพราะเดี๋ยวมันจะพากันหนีไปอยู่ที่อื่นซะหมด) และจากการทดลองของผมไก่ไข่(พันธุ์อิซ่าบราวนฺ) ก็สามารถคุ้ยหาอาหาร และจิกกินแมลงและหญ้าได้ครับ

สภาพแวดล้อม(ต้องพอเหมาะกับจำนวนไก่) ที่ต้องสร้างก็มีแหล่งน้ำสะอาด โดยการขุดบ่อปลาที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆก็เป็นถาดน้ำเอาก็ได้(ของผมโชคดีที่มีลำห้วยผ่าน เลยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาใส่น้ำให้ไก่่กิน)  ต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ไก่ขึ้นนอน ถ้าไม่มีก็สร้างเล้าก็ได้ครับ ต้องมีการปลูกพืชแบบผสมผสาน ต้องปล่อยให้หญ้าขึ้นบ้างไว้ให้ไ่ได้เล็มกิน …. สร้างแหล่งที่อยู่ของแมลงด้วยการหาใบไม้ กิ่งไม้ หรือฟางข้าวมาคลุม วิธีนี้จะทำให้ได้ทั้งปลวกทั้งแมลง ไก่จะคุ้ยเขี่ยกินอย่างมีความสุข


การเกษตร เรื่อง การขยายพันธุ์ของกุหลาบ

พันธุ์ของกุหลาบ
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้  มุ่งที่จะได้พันธุ์ใหม่ ๆ แปลก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกุหลาบที่ปลูกอยู่ทุก ๆวันนี้เป็นลูกผสมทั้งหมด  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงทำให้ได้ทันที  ไม่เหมือนพ่อแม่และไม่เหมือนกันเลยระหว่างลูกด้วยกัน  จึงไม่เหมาะที่จะใช้โดยทั่วๆ ไป  แต่เหมาะสำหรับนักผสมพันธุ์เพื่อที่จะหาพันธุ์ใหม่  ที่มีลักษณะดีเด่นกว่าต้นพ่อต้นแม่

การเพาะเมล็ดกุหลาบแตกต่างจากการเพาะเมล็ดไม้ดอกทั่วๆ ไป  เริ่มต้นจากเมล็ดกุหลาบที่มีการฟักตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง  หลังจากเก็บเมล็ดมาจากต้นแล้ว  นำมาเพาะทันทีเมล็ดจะไม่งอกแม้จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมอย่างไรก็ตาม  ด้วยเหตุนี้  จึงต้องนำเมล็ดไปทำให้พ้นสภาพการฟักตัวเสียก่อน
ก.  การทำให้เมล็ดพ้นจากสภาพการฟักตัว  อาจทำได้ 2 วิธีคือ
1. นำฝักกุหลาบที่แก่เต็มที่ไปฝังไว้ในกระบะที่บรรจุทรายชื้น เก็บไว้ในอุณหภูมิ 41 องศาฟาเรนไฮน์  เป็นเวลา 3 เดือนแล้ว จึงเอาฝักกุหลาบมาแกะเอาเมล็ดเพาะ
2.  เมื่อตัดฝักกุหลาบมาจากต้น นำมาผ่าครึ่งด้วยมีด ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้เขี่ยเอาเมล็ดออกมา  เมล็ดกุหลาบมีลักษณะคล้ายเมล็ดแอปเปิ้ล ขนาดใกล้เคียงกัน (ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์)ฝักหนึ่ง ๆ อาจจะมีถึง 70 เมล็ด(5-70)
-  นำเมล็ดไปผึ่งลมให้แห้ง  อาจใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
-  นำเมล็ดที่ได้ไปเก็บไว้พีทมอสชื้น โดยใช้พีทมอส 3 ส่วนต่อเมล็ด 1 ส่วน
-  บรรจุส่วนผสมของพีทมอสและเมล็ดในขวดแก้วปากกว่าง  ปิดปากขวดด้วยผ้าขาวบางให้อากาศผ่านได้หรืออาจบรรจุลงในถุงพลาสติคแล้วรวบปากถุงด้วยเชือก  หรือยางรัดหลวม  พออากาศถ่ายเทได้บ้าง
-  เก็บขวดแก้วหรือถุงพลาสติคไว้ในตู้เย็น(ช่องผัก)เป็นเวลา 3 เดือน
-  ระหว่างที่เก็บต้องคอยตรวจความชื้นพีทมอสอยู่เสมอ ๆ ถ้าแห้งต้องรดน้ำเพิ่ม
-  เมื่อครบ 3 เดือนแล้ว เมล็ดจะเริ่มงอก  จึงนำเอาเมล็ดที่เริ่มงอกไปเพาะในอุณหภูมิธรรมดาต่อไป
ถ้าไม่มีพีทมอส  อาจจะใช้สแพกนั่มมอสแทนก็ได้  จากการทดลองของ ผศ.สนั่น  ขำเลิศ  ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ นส.อุบลพงษ์  แสงวานิช  ได้ใช้สแพกนั่มมอสสับเป็นท่อนยาว ¼ – ½ นิ้ว  แช่น้ำจนอิ่มตัว  แล้วจึงบีบเอาน้ำออกจนสะเด็ดน้ำ  แล้วนำไปผสมกับเมล็ดในอัตราส่วน 3 : 1 และทำต่อไปเหมือนวิธีดังกล่าวข้างต้นทุกประการ  หลังจากเก็บเมล็ดไว้ในตู้เย็นได้ 1 เดือน  ได้คอยตรวจดูความงอกของเมล็ดในถุงทุก ๆ สัปดาห์  ปรากฎว่าเมล็ดเริ่มงอก เมื่อเก็บได้ 2 ½ เดือน  จึงทยอยเอาที่งอกออกไปเพาะต่อไป
เนื่องจากเมล็ดของกุหลาบมีเปลือกหนา  เมื่อเปรียบกับไม้ดอกชนิดอื่น  การปฏิบัติการบางอย่างกับเมล็ดเช่น  การทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดบาง หรืออ่อนตัวลงเพื่อจะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น  น่าจะได้รับการพิจารณา ดังนั้น เพื่อช่วยให้เมล็ดกุหลาบงอกเร็วขึ้น  จึงได้มีการแช่เมล็ดกุหลาบในน้ำอุ่นประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 2-3 ชั่วโมงโดยใช้น้ำ 1 ส่วนต่อเมล็ด 1 ส่วน  แล้วจึงนำไปคลุกเคล้ากับสแปกนั่มมอส  หรือ พีทมอสต่อไป
ข.  การเพาะเมล็ด  หลังจากเมล็ดงอกรากออกมาแล้ว  นำเอาไปเพาะในกระถาง หรือกระบะเพาะต่อไป ในต่างประเทศใช้ส่วนผสมสูตรของ จอห์น  อินเนส(John Innes) โดยมีส่วนผสมดังนี้
1)  ดินร่วน 2 ส่วน
2)  พีทมอส 2 ส่วย
3)  ทรายหยาบ 1  ส่วน

โดยปริมาตร
ส่วนผสมนี้ 1 ลูกบาศก์หลา  เติม
-          ซูเปอร์ฟอสเฟต 2 ปอนด์
-         ปูนดิบ(ground limestone) 1 ปอนด์
หรืออาจใช้สูตรที่มีส่วนผสมดังนี้
1)  ดินร่วน  3  ส่วน
2)  พีทมอส 2 ส่วน
3)  ทรายหยาบ  1 ส่วน
โดยปริมาตร
ในเมืองไทยหาพีทมอสได้ยาก อีกทั้งราคาแพงมาก  อาจใช้ใบไม้ผุหรือขุยมะพร้าวแทนได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะดัดแปลงไปตามวัสดุที่เราหาได้รอบ ๆ ตัวเรา  โดยยึดหลักว่า ส่วนผสมนั้นจะต้อง
1)  สะอาด ปราศจากเชื้อโรค
2)  โปร่ง ระบายน้ำได้ดี
3)  อุ้มความชื้นไว้พอสมควร
4)  มีปริมาณเกลือแร่ต่ำ
5)  มีธาตุอาหารพืชพอควร

นำเอาส่วนผสมที่ได้คลุกกับน้ำให้ชื้นพอดี  ไม่ถึงกับแฉะ  แล้วบรรจุลงในกระถางหรือกระบะ  ถ้าจำนวนเมล็ดที่งอกมามีไม่มาก  อาจใช้กระถางขนาด 2 นิ้วแสตนดาร์ด(ความสูงเท่ากับความกว้างของปากกระถาง)  ถ้าจำนวนเมล็ดที่งอกมีจำนวนมากพอที่จะปลูกในกระบะ  หรือตะกร้า  โดยบรรจุส่วนผสมที่คลุกเคล้าชื้นแล้วลงไปประมาณ 2/3 ของตะกร้า  เกลี่ยหน้าดินให้เรียบ  ทำร่องตามทางยาวของตะกร้า  ให้แต่ละร่องห่างกัน 1 นิ้ว ลึก 1 ซม.  โดยให้แต่ละร่องเป็นรูปตัววี (V-shape) ใช้ปากคีบ ๆ เมล็ด (อย่างเบามือที่สุด) วางลงที่ก้นร่อง  โดยให้รากจิ้มลงไปในดิน 1 ระยะห่างระหว่างเมล็ดประมาณ 1 นิ้ว เรียงเมล็ดจนครบทุกร่อง  ถ้าใช้ตระกร้าขนาด 10×14 นิ้ว  จะเพาะกุหลาบได้ประมาณ 100 เมล็ด กลบร่องด้วยส่วนผสมอันเดิม  พยายามทำให้ผิวหน้าของดินเรียบสม่ำเสมอกันทั้งตะกร้า  ด้วยการใช้ไม้ท่อนหนา 1 นิ้ว  กว้าง 2 ½ นิ้ว ยาวประมาณ 6 นิ้ว  หรือจะใช้แปรงลบกระดานดำที่ใช้แล้ว  ตบลงไปบนผิวดินเบา ๆ จะกระชับเมล็ดและราก  จะช่วยให้เมล็ดแตกยอดได้เร็วขึ้น
น้ำที่ใช้รดในระยะที่เพาะเมล็ดนี้จะต้องสะอาด  พยายามรักษาความชุ่มชื้นของดินในกระบะหรือตะกร้า หรือกระถางที่ใช้เพาะไว้ในถุงพลาสติก  รวบปากถุงไว้ให้แน่นพอสมควรก็ได้
หลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน เมล็ดจะเจริญงอกใบเลี้ยงและใบจริงตามลำดับ  จะนำตะกร้าออกจากถุงพลาสติกเลยก็ได้ เพื่อว่าต้นกล้าจะได้รับแสงแดดบ้าง  แต่ไม่ควรจะได้รับแสงแดดโดยตรงเพราะกล้าที่ได้ยังเล็กนัก  ควรจะดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไปจนกว่าจะมีใบจริง 3-4 ใน  จึงจะย้ายลงกระถางเดี่ยวเล็ก ๆ (ไม่เกิน 3 นิ้ว)  โดยใช้ส่วนผสมของดินปลูก เช่นเดียวกับใช้เพาะ  ตั้งทิ้งไว้ในที่มีแสงเพิ่มขึ้น ๆ และออกแดดในที่สุด
นับจากวันย้ายกล้าจนกระทั่งมีดอกแรก  ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน
จากนี้จะย้ายลงในกระถางขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ดอกที่ให้ดอกแรก ๆ จะมีขนาดดอกเล็ก กลีบดอกน้อย สีไม่สวย ดอกต่อ ๆ ไปเมื่อต้นโตขึ้น  จะได้ดอกที่มีลักษณะและคุณภาพที่แท้จริง  ดังนั้น  ควรที่จะตัดต้นใดทิ้ง  หรือต้นไหนควรจะเอาไว้นั้นควรจะได้แน่ใจเสียก่อน






การเกษตร เรื่อง ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มเป็นไม้ยืนต้น ชื่อสามัญ palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae นับเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุดรองจากหญ้า ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จำแนกได้กว่า 210 สกุล และราว 3,800 ชนิด ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด คือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว
ลำต้น
ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อหรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กันเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ใบ
ปาล์มมีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบมีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัดหรือฝ่ามือ
         ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
         ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไปติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น
ผล
ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (coco-de-mer) ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบางเป็นอาหารของสัตว์ป่า
ดอก
จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่น ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็กและแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออกจะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมา ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น เพราะว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด ปาล์มที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สาคู