วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ นางสาว กฤษดาวดี ปิ๋วท่าไม้    ชั้น ม.5/10    เลขที่ 14
กลุ่มที่   7
ปัญหาที่ศึกษา ความเครียดจากการเรียน
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันเยาวชนต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมายเช่น  ปัญหาการเรียน  การศึกษาต่อ  ปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัว  ปัญหาด้านร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลง  ปัญหาด้านเพศ  ปัญหายาเสพติด และปัญหาสังคมต่างๆซึ่งล้วนส่งผลต่อจิตใจและทำให้เกิดภาวะเครียด ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอเรื่องต่างๆเหล่านี้ผ่านทางสื่อที่ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ง่าย เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดระหว่างผู้จัดทำและผู้เข้าชม    ดังนั้นจึงได้จัดทำหนังสั้นในเรื่อง THE part of my life ขึ้นเพื่อสะท้อนถึงสังคมของการเรียนในปัจจุบัน  และปัจจัยรอบข้างที่ทำให้เกิดความเครียด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเครียดที่ได้มาจากการเรียน
2. เพื่อศึกษาค้นหาความเป็นมา สาเหตุของความเครียดที่เกิดจากการเรียน
3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียน
4. เพื่อแนะนำให้รู้จักการจัดเวลาในการเรียน
5. ศึกษาอุปกรณ์ ขั้นตอน และความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสั้น
6. สร้างหนังสั้นเพื่อตอบสนองและเรียนรู้ในการทำหนังสั้น
7. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมหนังสั้น
8. เพื่อเป็นการพัฒนาสักยภาพของสามชิกในกลุ่มให้มีความชำนาญและมีความรู้เกี่ยวกับหนังสั้น  9. สามารถนำการทำหนังสั้นไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ได้
10.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
1.ได้ข้อมูลจากการศึกษาเรื่องความเครียดจากการเรียน
2.นำข้อมูลที่ได้มาหาวีและแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้
3.มีความรู้ในการทำหนังสั้นมากขึ้น
4.สามารถนำความรู้เรื่องการทำหนังสั้นไปพัฒนาต่อไปได้
5.สามารถทำหนังสั้นที่มีคุณภาพได้มากยิ่งขึ้น
6.สามารถนำความรู้ทั้งเรื่องการทำหนังสั้นและวิธีการแก้ปัญหาจากความเครียดจากการเรียนไปเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
1.เมื่อมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ต้องมีการพูดคุยกันอย่างมีเหตุผลและไม่ใช้อารมณ์
2.เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นกัน ควรรับฟังความเห็นของผู้อื่นด้วย
3.ในการทำงานร่วมกันต้องมีความสามัคคี มีเหตุผล และต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4.เมื่อมีการทำงานในส่วนของการหาข้อมูล ค้นคว้า และศึกษา ควรแบ่งหัวข้อให้ชัดเจน และช่วยกันหาข้อมูลมากกว่าการทำคนเดียว
5.เมื่อมีปัญหาความเครียดจากการเรียน เราควรที่จะผ่อนคลายจิตใจ หากิจกรรมที่สนุกมาทำ เพื่อจะได้ลดความเครียดลงไป
6.เมื่อมีปัญหาจากกการเรียน ควรจะปรึกษาคนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ครู หรือเพื่อน
7.ควรทำจิตใจให้สบายเสมอ เช่น นั่งสมาธิ ดูละคร เป็นต้น
8.ควรรู้ขอบเขตทางอารมณ์ของตนเอง เพราะ ถ้าเครียดเกินไปก็จะส่งผลต่อสิ่งอื่นๆด้วย
9.ควรมีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับมุมกล้องในการถ่ายทำหนังสั้น
2.ได้เรียนรู้การตัดต่อหนังสั้น
3.ได้เรียนรู้ในการนำ google เอกสารมาใช้ในการทำงานด้วยการแชร์ให้แก่ไขได้ ทำให้การทำงานในส่วนของการหาข้อมูลเร็วขึ้น
4.ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มมากยิ่งขึ้น
5.ได้ความรู้ในการทำหนังสั้น


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตอบ EMAIL เผย ความเครียด

ดร.คาเรน เรโนลด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ ผู้นำการวิจัยนี้ ระบุว่า ผู้ใช้อีเมลมีด้วยกันสามประเภทคือ ง่ายๆ สบายๆ,รู้สึกกดดันในระดับหนึ่ง และเครียด
โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นจะรู้สึกกดดันมากกว่าผู้ชายให้ต้องรีบตอบเมลโดยไว

กลุ่มที่ง่ายๆ สบายๆ จะไม่ยอมให้อีเมลมากดดันตัวเอง แต่จะตอบสนองต่ออีเมลเช่นเดียวกับจดหมายทั่วไปคือ ตอบแน่ๆ แต่รอให้มีเวลาก่อน
กลุ่มที่ 2 คือพวกที่รู้สึกกดดัน แต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าสามารถรับมือได้ ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความกดดันจากอีเมลในทางลบ ซึ่งเป็นที่มาของความเครียดและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในที่สุด
ดร.เรโนลด์,จูดิท แรมซี นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพสลีย์ สก็อตแลนด์ และมาริโอ แฮร์ นักสถิติจากสถาบันเดียวกัน ได้ร่วมกันสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง 177 คน ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อดูว่าคนเหล่านั้นมีปฏิกิริยาและวิธีการรับมือกับอีเมลที่ได้รับขณะทำงานอย่างไร
ทีมนักวิจัย พบว่า 34% ของกลุ่มตัวอย่างเข้าข่าย เครียดรู้สึกวุ่นวายใจกับอีเมลที่หลั่งไหลเข้ามาในแต่ละวัน และรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องตอบเมลเหล่านั้นโดยเร็วเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ส่ง
อีก 28% รู้สึกว่าอีเมลสร้างความกดดัน ขณะที่ 38% เป็นผู้ใช้อีเมลที่ ผ่อนคลายเนื่องจากไม่รู้สึกลำบากใจที่จะรอให้ผ่านไปสักวันหรือสัปดาห์ก่อนจะตอบเมลที่ได้รับ
นักวิจัย เผยว่า ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์มักผละจากงานไปเช็คเมลชั่วโมงละ 30-40 ครั้ง
แม้กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งบอกว่าเช็คเมลชั่วโมงละมากกว่า 1 ครั้ง และ 35% ทำแบบนั้นทุก 15 นาที แต่ซอฟต์แวร์ตรวจจับที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ชี้ว่า มีการเช็คเมลบ่อยกว่าที่กล่าวอ้าง
กล่าวคือโดยเฉลี่ยแล้ว กลุ่มตัวอย่างจะรอ 1 นาที 44 วินาทีก่อนที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อข้อความแจ้งเตือนว่ามีอีเมลใหม่เข้ามา อย่างไรก็ดี การแจ้งเตือน 2 ใน 3 ได้รับการตอบสนองภายใน 6 วินาที หรือเร็วกว่าระยะเวลาที่โทรศัพท์ดังสามครั้ง
ปัจจุบัน อีเมลกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตการทำงานมากที่สุด ต้องบอกว่านี่เป็นเครื่องมือที่มหัศจรรย์ แต่ขณะเดียวกันก็ไร้การควบคุม อีเมลเร่งเร้าคุณ คุณอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่ในนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นอีเมลจากครอบครัวหรือเพื่อน หรือเจ้านาย ดังนั้น คุณจึงวางมือจากทุกอย่างที่ทำอยู่เพื่อเปิดอ่านอีเมล


ปัญหาก็คือ เมื่อคุณกลับไปหาสิ่งที่ทำค้างไว้ สมาธิคุณจะเสียไป และแน่นอนประสิทธิภาพการทำงานก็จะลดลงไปด้วย ยิ่งคุณเสียสมาธิไปกับสิ่งเร้าเท่าไหร่ คุณจะยิ่งเหนื่อยและมีพลังในการทำงานน้อยลงเท่านั้นดร.เรโนลด์สำทับ
ทีมนักวิจัยยังบอกอีกว่า งานชิ้นนี้เปิดเผยให้เห็นว่าผู้ใช้อีเมลที่ถูกผลักดันหรือถูกทำให้เครียดมีแนวโน้มที่จะมีความเคารพในตัวเองต่ำกว่าคนที่รู้สึกผ่อนคลายกับการตอบอีเมล แม้ยังไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจนของเรื่องนี้ก็ตาม
น่าประหลาดใจที่คนจำนวนมากตอบสนองในแง่ลบต่ออีเมล ข้อเท็จจริงที่ว่า กลุ่มที่เครียดเพราะเมลส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเป็นอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วง
นอกจากนั้น ยังมีผลการศึกษาอีกฉบับเมื่อปีที่แล้วที่ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนเราต้องใช้เวลา 64 นาทีในการดึงสมาธิที่ถูกขัดจังหวะจากอีเมล หมายความว่าคนที่เช็คเมลทุก 5 นาทีจะสูญเวลางานไปสัปดาห์ละหนึ่งวันเต็มๆ คือ 8.5 ชั่วโมง
ผู้ทำงานที่ต้องอาศัยจินตนาการสร้างสรรค์ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิอย่างสูงเพื่อให้โครงการที่มีความสำคัญลุล่วง เช่น นักวิชาการ นักเขียน สถาปนิก หรือนักข่าว มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากปัญหาการกวนใจจากอีเมลมากที่สุด ขณะที่ผู้ที่ทำงานในคอลล์เซนเตอร์ที่อีเมลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงาน จะไม่พบปัญหาแบบเดียวกันนี้

กลิ่นกับความเครียด

  

    จากงานวิจัย พบว่าการสูดดมกลิ่นต่างๆ ขณะนอนหลับนั้น สามารถคลายความกังวล และช่วยลดความเครียดได้
จากการศึกษาในชิคาโก พบว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองในครั้งนี้มีสีหน้าสดชื่นเมื่อตื่นนอน มากกว่าตอนก่อนทำการทดลอง 
     โดยมีวิธีการคือ จะใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ร่วมกับการปล่อยกลิ่นเฉพาะเจาะจง เช่น ไม้กานพลูรองเท้าใหม่มะนาวหรือมิ้นท์
     ในขณะที่อาสาสมัครกำลังหลับลึก เพราะช่วงการหลับลึกเป็นช่วงของการรวบรวมและฟื้นฟูความทรงจำและทักษะใหม่ๆ จึงกล่าวได้ว่ายิ่งหลับลึกยิ่งส่งผลดี โดยมีการประเมินผลจากปริมาณเหงื่อบนผิวหนังและการสแกนสมอง (ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก)
     ทั้งนี้มิใช่เพียงลดความกลัว ความกังวลเท่านั้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ยังเชื่อว่า กลิ่นช่วยพัฒนาการป้องกันและรักษาโรคเครียดได้อีกด้วย
     ได้ยินอย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังเครียด ลองหากลิ่นตามที่ชื่นชอบ ละทิ้งทุกสิ่งอย่าง เพื่อพักสายตานอนหลับ แล้วคุณจะพบว่าเมื่อตื่นเช้ามาความรู้สึกเครียดจะลดน้อยลง

นอนไม่พอ มองพลาดจริงหรือ?

จิตวิทยาทั่วไป
นอนไม่พอกลไกสมองเปลี่ยน
มองโลกดีไป กล้าได้กล้าเสียเกิน

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้คนเรากล้าได้กล้าเสียมากขึ้น เนื่องจากสมองส่วนที่ประเมินผลบวกทำงานหนักกว่าสมองส่วนที่ประเมินผลลบ
 เอเอฟพี – ผลศึกษาพบคนที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอมีแนวโน้มตัดสินใจโดยที่มองโลกแง่ดีเกินความเป็นจริง ทำให้กล้าเสี่ยงในเกมพนันมากขึ้น
       นักวิจัยอเมริกันใช้เครื่องเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) ตรวจสอบสมองของผู้ที่นอนหลับไม่สนิทและพักผ่อนไม่เพียงพอ เทียบกับผู้ที่หลับเต็มอิ่มตลอดคืน
      ผลการสแกนแสดงให้เห็นว่าในกลุ่มคนนอนน้อย สมองส่วนที่ประเมินผลลัพธ์แง่บวกทำงานหนักขึ้น ขณะที่สมองส่วนที่ประเมินผลแง่ลบทำงานเนือยลง

นักวิจัยเผยว่า การอดนอน ดูเหมือนทำให้เกิด อคติแง่บวก ตัวอย่างเช่นอาสาสมัครตัดสินใจราวกับว่าสิ่งที่ทำจะเกิดผลดี (ได้รับรางวัลที่มีมูลค่าสูงขึ้น) และแนวโน้มที่จะได้ผลลบน้อยมาก (หรือมีอันตรายน้อยลง)
      ไวน็อด เวนคาทราแมน จากคณะจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุ๊ค ซึ่งเป็นแกนนำการจัดทำรายงาน ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูดอากาศบริสุทธิ์ หรือออกกำลังกาย ไม่เพียงพอต่อสู้ผลลัพธ์จากความอ่อนเพลียหลังอดนอน
      “นักพนันที่นอนดึกต้องต่อสู้ไม่เพียงกับโอกาสที่เป็นได้น้อยมากของอุปกรณ์การพนัน แต่ยังต้องต่อสู้กับแนวโน้มของสมองจากการอดนอนที่โน้มเอียงไปที่การได้มากกว่าเสีย

เทคนิคอารมร์ดี


เทคนิคอารมณ์ดี   1
สบายใจ คือ การทำใจให้สบาย ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป รู้ทันสถานการณ์ที่มากระตุ้นอารมณ์ จัดการอารมณ์ให้เป็นและถูกวิธี ลดอารมณ์โกรธให้ได้ หลีกเลี่ยงความรู้สึกอคติ สร้างบรรยากาศความไว้วางใจและใช้อารมณ์ขันเพื่อสร้างความอบอุ่น

เทคนิคอารมณ์ดี  2 
พอใจ คือ รู้จักพอในสิ่งที่มีอยู่ ใช้ชีวิตเรียบง่าย จัดชีวิตให้ลงตัวสมดุลทั้งด้านสุขภาพ การงาน ครอบครัว  

เทคนิคอารมณ์ดี  3 

ภูมิใจ คือ ภูมิใจในสิ่งที่ตนประสบผลสำเร็จ โดยสิ่งนั้นสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและผู้อื่น เช่น การได้รับการยอมรับ ทำในสิ่งที่รู้ว่าดีเป็นประโยชน์แก่สังคม รู้จักให้ และช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจที่เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถปรับและรับสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ได้

เครียดที่อันตราย

สำหรับโรคจิตเวชมีหลายแบบ ผศ.พญ.วินิทรา กล่าวว่า อาการที่เกิดจากความเครียดแต่พ้นระดับความเครียดทั่วไป เรียกว่า   แอดจัสเม้นท์ ดิสออเดอร์ โรคนี้เกิดจากมีความเครียดในชีวิตประจำวันเข้ามากระทบ แต่ปรับตัวเข้ากับสิ่งนั้นไม่ได้

 ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตตามมา เช่น วิตกกังวลมากกว่าปกติ คือ อยู่เฉย ๆ เก็บเรื่องมาคิดทั้งวัน วนไปวนมาอยู่ที่เดิม
อาการที่สองที่เกิดขึ้นได้ คือ ซึมเศร้า คีย์เวิร์ดสำคัญไม่ใช่เศร้าร้องไห้ แต่หมายถึง เศร้าแบบน้ำตาตกใน รู้สึกไม่มีความหวัง โลกนี้ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร หรือ เศร้าแบบอะไรที่เคยทำแล้วสนุกกลับไม่สนุก (ลอสต์ ออฟ อินเทอเรส) ถ้ามีสองอย่าง หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องระวังว่าอาจมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้น
อาการที่สาม คือ มีพฤติกรรมซึ่งคนปกติไม่ทำกันเวลามีความเครียด เช่น เครียดมากไม่รู้จะทำอย่างไรดี ชีวิตไม่รู้จะอยู่ไปทำไม รู้สึกเจ็บปวดอยู่ในใจ เลยกรีดแขนเป็นรอยถี่ ๆ ตื้น ๆ พอเห็นเลือดแล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกว่ามีอะไรที่เจ็บกว่าความเจ็บปวดในใจนั้น ลักษณะนี้จะเข้าข่ายของผู้มีอาการป่วย
ผศ.พญ.วินิทรา กล่าวว่า ปัญหาแอดจัสเม้นท์ ดิสออเดอร์ บางทีเป็นระยะหนึ่งแล้วไม่ได้รับการแก้ไข ยังเจอความเครียดอยู่ แล้วแก้ไขไม่ได้ ปรับตัวไม่ได้ ก็อาจจะพัฒนาเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น

ที่รู้จักกัน คือ 
 โรคซึมเศร้า  อาการเศร้าจะเริ่มหนักขึ้น ไม่อยากกินอาหาร น้ำหนักลด ไม่คุยกับใคร แล้วก็เริ่มมีความคิดฆ่าตัวตายที่จริงจังขึ้น คิดผูกคอตาย ยิงตัวตาย กระโดดตึก รุนแรงขึ้น อันนี้เป็นโรคแล้ว

อีกโรคหนึ่งที่พบบ่อย คือ  โรควิตกกังวล ต่างจากแอดจัสเม้นท์ ดิสออเดอร์ ที่จะคิดเฉพาะเรื่องเครียด แต่ถ้าเป็นโรควิตกกังวลจะคิดทุกเรื่อง ดูข่าวเห็นมีคนยิงกันบนรถเมล์ก็ไม่กล้าขึ้นรถเมล์ ดูข่าวบอกไปในห้างมีคนจี้ปล้นก็ไม่กล้าไปเดินห้าง จะไปไหนมาไหนต้องหันซ้ายหันขวากลัวคนมาทำอะไร นอนไม่หลับเก็บไปคิดทั้งคืน ตื่นเช้ามาจะไปทำงานได้อย่างไร ชีวิตนี้จะอยู่อย่างไร เรื่องของญาติคนนั้น เพื่อนคนนี้ คิดอย่างนี้ทั้งวัน ทำอะไรไม่ได้ ถือว่าเกินระดับความเครียดแล้ว

เทคนิคการเรียนดี



เทคนิคเรียน : 1.แบ่งเวลาเป็น
เคล็ดลับข้อแรก ถึงแม้ว่าเราจะชอบเล่นเกมส์ อ่านการ์ตูน เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง ช้อปปิ้ง ฯลฯ ขอแค่เราแบ่งเวลาให้เป็น เวลาไหนเล่นก็เล่น เวลาไหนเรียนก็เรียน จะเล่นวันละกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่ขอเจียดเวลามาเรียนนอกเหนือจากในห้องเรียนสักวันละ 30 นาที  1 ชั่วโมงก็พอแล้ว (เสาร์-อาทิตย์ไม่ต้องก็ได้)
เทคนิคเรียน : 2. ทบทวนล่วงหน้า-หลังเรียน เข้าหัวไม่ต้องจำ
เคล็ดลับง่ายๆ อ่านล่วงหน้าก่อนเข้าห้องเรียนสัก 10-15 นาที อ่านผ่านๆแค่หัวข้อก็พอว่าวันนี้เราจะเรียนอะไรบ้าง พอตกเย็น ก็อ่านทบทวนผ่านๆอีกรอบว่าวันนี้เราเรียนอะไรไป วันต่อวัน มันจะเข้าไปอยู่ในหัวเองไม่ต้องออกแรงจำให้เมื่อย แถมทำบ่อยๆมันจะประติดประต่อกันเองทั้งเทอม

เทคนิคเรียน : 3. ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
เชื่อว่าทุกๆคนก็เคย หรือยังมีดินพอกหางหมูอยู่ทั้งนั้น มันลำบากมากที่ต้องมาตามแก้ดินพอกหางหมู บางครั้งใช้เวลามากกว่าเดิม เท่าบ้าง เท่าบ้าง รู้งี้ทำซะเลยจะดีกว่า
เทคนิคเรียน : 4. ไม่เรียนอัดก่อนสอบ
ถ้าน้องปล่อยพอกไว้ตั้งแต่ต้นเทอม ยันปลายเทอม แล้วมาอัดอ่านทีเดียวก่อนสอบ มันจะไม่ทันเอา หลายเรื่อง หลายวิชา ถ้าใครเคยเรียนอัดก่อนสอบคงรู้ดี (นายติวฟรีก็เคยทำ) ว่า อ่านบทแรกก็ยังโออยู่ แต่พออ่านบทสอง ดั๊นลืมบทแรก พออ่านบทสาม ดั๊นลืมบทสอง ฯลฯ แบบนี้เรียกว่า ได้หน้าลืมหลัง มาดูตัวอย่างสดๆกันตรงนี้เลย นายติวฟรีถามว่า เคล็ดลับข้อแรกคืออะไร (ห้ามย้อนกลับไปอ่านนะ) เชื่อว่าตอบไม่ได้กันเกินครึ่ง อิอิ จริงๆแล้วมันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอยู่นะว่า สมองของคนเรา จะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้ดีโดยค่อยๆจดค่อยๆจำสะสมไปเรื่อยๆ ถ้ามาพยามจดจำในระยะเวลาสั้นๆมันจะไม่เข้าหัว ขนาดไอน์สไตน์ฉลาดเป็นกรด ก็ยังจำเยอะๆในเวลาสั้นๆไม่ไหวเลย


เทคนิคเรียน : 5. ลงมือทำโจทย์ แบบฝึกหัด การบ้าน
น้องๆหลายคนมองข้ามการทำโจทย์และแบบฝึกหัดต่างๆไปโดยสิ้นเชิง แล้วกลับไปให้ความสำคัญกับการเรียนเนื้อหา หรือทฤษฎีต่างๆ หลายๆคนหนักข้อ แบบฝึกหัดข้อแรกที่ได้ทำคือในห้องสอบนั่นเอง แล้วมันจะทำได้ยังไง T_T พอออกมาจากห้องสอบก็น้ำตาตกในทำไม่เป็น คนเก่งเขามีความลับในความเก่งซ่อนอยู่ นั่นคือ เขาใช้เวลาเรียนทฤษฎีนิดเดียว เอาให้ได้ครบสักรอบสองรอบก็พอ แล้วใช้เวลาที่เหลือไปทุ่มเทให้กับการซ้อมในสนาม (ทำแบบฝีกหัด) อย่างหนักทุกวันๆ ถ้าอยากเรียนเก่งเหมือน เราก็ต้องขยันทำแบบฝึกหัดเยอะๆเข้าไว้
เทคนิคเรียน : 6. ทำ mindmap เรียนรู้จากภาพใหญ่ไปภาพเล็ก
มันจะง่ายกว่าเยอะมากถ้าเรามองความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดโดยรวม ว่ามันเกี่ยวข้องกับอะไร แล้วมีหัวข้ออะไรบ้าง แต่ละหัวข้อเกี่ยวข้องกันอย่างไร อย่างการทำ mindmap นั้นช่วยได้มากๆ ที่สำคัญทำง่ายด้วย ไม่ต้องคิดว่ามันเป็นเรื่องยาก แค่มีกระดาษกะปากกา ก็สามารถทำเองได้แล้ว

เทคนิคเรียน : 7. ทำสรุป/ช้อตโน้ตด้วยตัวเอง
การทำสรุปหรือช้อตโน้ตจะเป็นเสมือนการทบทวนและสรุปเนื้อหาด้วยตัวเอง น้องๆจะมีสรุปของเพื่อนที่เก่งๆก็ได้ แต่สำคัญคือ ให้ทำเวอร์ชันของตัวเองด้วย (เขียนสรุปจากสรุปของเพื่อนก็ได้นะ) แค่การทำก็เหมือนว่าได้ทบทวนไปแล้วรอบนึง ที่สำคัญคือ เมื่อตัวเองมาอ่านสรุปของตัวเองแล้วนั้น มันจะจำได้ชัดเจนมากกว่าการอ่านสรุปของคนอื่นมากๆ ยิ่งถ้าเขียนสรุปด้วยปากกาหลายสี วาดรุปน่ารักๆลงไป บางครั้งในห้องสอบ จำได้ด้วยแน่ะ ว่าตรงนี้เราสรุปด้วยปากกาสีอะไร วาดรูปอะไรลงไป
เทคนิคเรียน : 8. ติวเป็นกลุ่มกับเพื่อน ผลัดกันถาม ผลัดกันตอบ
การอ่านคนเดียวบางครั้งเราก็มองข้ามเรื่องสำคัญบางเรื่องไป การจับกลุ่มกะเพื่อน ติว หรือผลัดกันถามตอบ ก่อนสอบ จะทำให้เราได้ในส่วนที่เรามองข้ามไป ถึงบางอ้อหลายจุด บางครั้งการจับกลุ่มถามตอบก่อนเข้าห้องสอบไม่กี่ชั่วโมงก็ทำให้เราจำอะไรดีๆได้มากกว่าที่คิดอีกนะ
เทคนิคเรียน : 9. มั่นใจในตัวเอง อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่งเรียนยังไงก็ไม่ได้
ข้อห้ามที่สำคัญมากๆ ห้ามคิดว่าตัวเองไม่เก่งแล้วไม่สามารถทำได้เด็ดขาด เด็กไม่เก่งก็มีวิธีเรียนดีของเด็กไม่เก่งเหมือนกัน ท้อได้แต่ห้ามยอมแพ้เด็ดขาด!
เทคนิคเรียน : 10. คนเรียนเก่ง ดูแลตัวเอง กินให้พอ นอนให้พอ
หลายๆคนคิดว่า นี่คือเคล็ดลับตรงไหนเนี่ย แต่ที่จริงแล้ว มันเป็นสุดยอดเคล็ดลับ ที่ทำให้น้องเก่งจากภายใน ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ กินอิ่มนอนหลับ จะส่งผลให้ สมองปลอดโปร่งตามไปด้วย พอสมองปลอดโปร่ง จะแล่นมาก จำอะไรได้ง่ายกว่า เร็วกว่า เยอะกว่า ไม่ลองไม่รู้นะ

นอนดึกดีกว่าจริงหรือ?

งานวิจัยนี้ช่วยปลอบใจได้เป็นอย่างดีสำหรับพวกที่ถูกตราหน้าว่านอนกินบ้านกินเมือง
   


  ก่อนหน้านี้มีงานศึกษาหลายชิ้นที่พบว่า คนตื่นสายมีแนวโน้มฉลาดและรวยกว่าคนตื่นแต่เช้ามืด สำหรับงานศึกษาล่าสุด นักวิจัยได้นำคนสองกลุ่มมาเปรียบเทียบกันโดยการมอบหมายภารกิจที่ใช้วัดปฏิกิริยาการตอบสนองและระยะเวลาที่คนๆ นั้นยังคงตื่นตัวกับการทำงาน
     ระหว่างการทดลอง อาสาสมัครจะเข้านอนและตื่นตามเวลาปกติ โดยพวกที่นอนหัวค่ำมีแนวโน้มตื่นก่อนพวกนกฮูกสี่ชั่วโมง
     รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารไซนส์ระบุว่า อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มทำภารกิจได้ดีพอๆ กันหลังจากตื่นนอนไม่นาน แต่หากผ่านไปสิบชั่วโมง พวกนอนดึกตื่นสายจะฉายแววโดดเด่นกว่า ทั้งทำภารกิจเร็วกว่าและมีปฏิกิริยาตื่นตัวดีกว่า
ดร.ฟิลิปเป้ เปโนซ์ จากมหาวิทยาลัยแลจในเบลเยียม ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย แจงว่าแม้ตื่นนอนมานานพอๆ กัน แต่ดูเหมือนพวกนอนหัวค่ำจะรู้สึกง่วงงุนมากกว่า ซึ่งจากการสแกนสมองพบว่าบางส่วนในสมองที่เชื่อมโยงกับความสนใจทำงานเนือยลง
     อนึ่ง การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการนอนดึกเกิดจากดีเอ็นเอ โดยนาฬิกาชีวภาพในร่างกายคนเราที่ควบคุมโดยพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่าคนๆ นั้นจะเป็นนกน้อยที่ตื่นหากินแต่ย่ำรุ่งหรือเป็นนกฮูกตาโตยันดึก
นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาอีกหลายชิ้นที่หักล้างความคิดที่ว่า เข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้าดีต่อสุขภาพร่างกาย สมองและฐานะ เนื่องจากพบว่าคนนอนดึกตื่นสายฉลาดกว่า สมองฉับไวคิดอะไรเร็วกว่า แถมยังมีความจำดีกว่า จึงหาเงินได้มากกว่า
     เหล่านกฮูกคนดังมีอาทิ ชาร์ลส์ ดาร์วินอะดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และวินสตัน เชอร์ชิล ที่เข้านอนตอนตีสี่และตื่นสายโด่งเป็นประจำ และเนื่องจากรูปแบบการนอนนี้ จึงทำให้บ่อยครั้งเชอร์ชิลต้องบัญชาการวอร์รูมภายในห้องอาบน้ำ
เชื่อกันว่าปัจจัยที่แบ่งแยกกลุ่มนกน้อยกับนกฮูกคือวิวัฒนาการที่เริ่มต้นจากยุคหิน โดยพวกตื่นเช้าจะเป็นพวกที่ออกไปหาอาหารการกิน ส่วนพวกนอนดึกมีหน้าที่ระวังภัยยามราตรี และทั้งสองกลุ่มต่างหลับสนิทอย่างอุ่นใจเพราะรู้ว่า       สิ่งสำคัญจำเป็นของตนเองได้รับการดูแลเอาใจใส่แล้ว
แต่เมื่อถึงยุคสมัยที่มนุษย์เราเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผักเป็นอาหาร พวกตื่นเช้าจึงเป็นที่ต้องการในสังคมเพราะเริ่มต้นทำงานก่อนใคร ขณะที่พวกตื่นสายถูกประณามว่าเกียจคร้านสันหลังยาว

นอนอย่างไรให้สมองพร้อมเรียนรู้

หนุ่ม-สาววัยใสที่มักมีอาการสมองตื้อ ระหว่างวันความคิดแล่นช้า ขณะเดียวกัน ยังมีอารมณ์ขุ่นมัวร่วมด้วย ลองรีสตาร์ท (Restart) ระบบร่างกายตั้งแต่ก่อนนอน ด้วย “5 เคล็ดลับ” ต่อไปนี้


·       เริ่มจาก อาบน้ำอุ่นก่อนนอน จะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ระหว่างนั้น อาจหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ปริมาณเล็กน้อยลงอ่างน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติระงับประสาทให้รู้สึกสงบ และผ่อนคลาย ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ทั้งยังช่วยคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ด้วย
·       เลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้หลับไม่ลง อย่าง คาเฟอีน นิโคติน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสหวาน จากกาแฟชาโคล่าโกโก้ช็อคโกแลต สูบบุหรี่ รวมทั้งไม่รับประทานมื้อหนักก่อนนอนอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หากหิวควรทานนมอุ่น ๆ ดีกว่า
·       ชั่วโมงก่อนนอนไม่ควรออกกำลัง เพราะมีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อ โดยร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้หลับยาก ทั้งนี้ การออกกำลังกายช่วงเช้า หรือเย็น ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินสารเคมีที่สร้างจากสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
·       ทั้งนี้ จากรายงานของหน่วยงานที่ศึกษาด้านการนอนหลับ ของสหรัฐฯ พบว่า การสัมผัสกับแสงไฟนีออนยามนอน ส่งผลต่อคุณภาพการหลับลดลง โดยแสงดังกล่าว จะไปกดการทำงานของเมลาโทนินฮอร์โมนตามธรรมชาติ ซึ่งควบคุมการนอนหลับ ดังนั้น ไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืน

·       เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลา นาทีออกไปรับลม และแสงนอกระเบียง หรือหน้าต่าง จะกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น อารมณ์แจ่มใส สมองตื่นตัว เพียงเท่านี้ก็บอกลาอาการง่วงซึมระหว่างวันได้แล้ว แนะนำวัยเรียนลองไปพิสูจน์กันดู.

50 อาการจากความเครียด


1. ปวดศีรษะบ่อยๆ
2. กัดฟัน
3. พูดติดอ่าง
4. เสียงสั่น ปากสั่น หรือ มือสั่น
5. กล้ามเนื้อกระตุก ปวดคอ หรือ ปวดหลัง
6. วิงเวียนศีรษะ
7. มีเสียงในหู เช่น หูอื้อ เสียงหวี่ วิ้ง
8. หน้าแดงบ่อย หรือเหงื่อแตก
9. มีเหงื่อเย็นที่มือหรือเท้า
10. ปากแห้ง หรือ กลืนยาก
11. เป็นหวัดหรือติดเชื้อบ่อย
12. เป็นผื่นคัน หรือขนลุกบ่อย
13. เกิดอาการแพ้ที่อธิบายไม่ได้บ่อยๆ
14. จุกเสียดหรือกรดไหลย้อนบ่อย
15. เรอมากกว่าปกติ
16. นิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป
17. หายใจลำบาก
18. เกิดอาการตื่นตระหนกอย่างฉับพลัน
19. เจ็บหน้าอก หรือใจเต้นเร็ว ใจสั่น
20. ปัสสาวะบ่อย
21. พลังขับทางเพศลดลง
22. วิตกกังวลบ่อย
23. โกรธบ่อย
24. หดหู่ หรือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
25. ความอยากอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลง
26. นอนหลับยาก
27. มีความลำบากในการจดจ่อกับสิ่งใด
28. เรียนรู้ลำบาก
29. มีปัญหาความจำ ระยะสั้น หรือ ยาว
30. ตัดสินใจลำบาก
31. รู้สึกถูกครอบงำ
32. คิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
33. รู้สึกโดดเดี่ยว หรือไร้ค่า
34. ไม่ค่อยใส่ใจกาพลักษณ์
35. รู้สึกประหม่า หรือตื่นกลัว
36. หงุุดหงิดง่ายขึ้น
37. แสดงออกทางอารมณ์มากกว่าปกติ
38. เกิดอุบัติเหตุเล็กๆบ่อยๆ
39. หมกมุ่น หรือ ย้ำคิดย้ำทำ
40. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
41. ขาดการยับยั้งชั่งใจในการช้อปปิ้ง หรือ การพนัน
42. พูดเร็วรัว
43. ปกป้องตัวเองหรือระวังภัยมากไป
44. มีปัญหาในการสื่อสาร
45. อายในการเข้าสังคม และแยกตัว
46. อ่อนเพลียเรื้อรัง
47. ใช้ยาเองโดยไม่ได้รับใบสั่งจากแพทย์
48. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น หรือใช้ยาต้องห้าม
50. ผิวแห้ง หมอง มีริ้วรอยและรอยตีนกา

4 ขั้นง่ายๆคลายเครียดก่อนสอบ


 คลายเครียดก่อนสอบ ขั้นที่ 1
ให้เขียนใส่กระดาษไว้ ทั้งสถานการณ์ที่ดีที่สุด (best scenario) และสถานการณ์ที่เลวที่สุดที่เป็นไปได้ (worst scenario)
     คลายเครียดก่อนสอบ ขั้นที่ 2
ให้หลับตา นึกภาพตัวเราเข้าไปในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด รอบเข้าไปในสถานการณที่ดีที่สุด รอบ โดยแต่ละรอบให้หายใจเข้าช้าๆ และหายใจออกให้ช้ามากๆ
     คลายเครียดก่อนสอบ ขั้นที่ 3
จากนั้นก็ลืมตา แล้วกลับมาสู่โลกของความเป็นจริง
     คลายเครียดก่อนสอบ ขั้นที่ 4
ทำส่วนของเราให้ดีที่สุด แล้วบอกตัวเองว่า "เราได้ทำดีที่สุดเท่าที่เราทำได้แล้ว นี่คืออะไรที่ดีที่สุดสำหรับเรา และเราจะอยู่กับอะไรที่ดีที่สุดสำหรับเราให้ได้"